วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ



ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา


ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป


เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย


กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น


กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยอีสานเอาบุญเดือนสิบสอง


ประเพณีไทยอีสานเอาบุญเดือนสิบสอง



ประเพณีไทยอีสานเอาบุญเดือนสิบสอง ภาคอีสาน เป็นภาคหนึ่งของประเทศไทยที่มีความมั่งคั่งในด้านประเพณีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับพิธีกรรม เป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ของภาษา ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งจะมีงาน บุญเยอะมาก ใน 1 ปี มีประเพณีพิธีกรรมทุกเดือน เพราะคนอิสานยึด ฮีต 12 ครอง 14 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งหลายท่านอาจไม่เข้าใจศัพท์ภาษาอีสานเราจะมาอธิบายกันง่ายๆเลย


"ฮีต12" แปลเป็นไทยกลางคือจารีต 12 ข้อ (คนอิสานออกเสียงเป็นฮีตสั้นๆได้ใจความ ) จารีตประเพณี  คือ ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและ เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งแต่เดิมนั้นกฎหมายก็มีที่มาหรือได้รับแนวทางจากจารีตประเพณีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่จารีตประเพณีที่จะนำมาอุดช่องว่างของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 นั้น ต้องมีสาระสำคัญคือ


  • ต้องเป็นจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติของคนในสังคม
  • จารีตประเพณีนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหรือศีลธรรมอันดีทั้งหลายของคนในสังคม
  • จารีตประเพณีนั้นต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งความหมายของจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น หมายถึงจารีตประเพณีของประเทศไทย เรานั่นเอง จารีตประเพณีนั้นต้องมีเหตุผลและความเป็นธรรม



"คอง 14" แปลเป็นไทยกลางก็คือครรลองครองธรรม 14 ข้อ(คนอิสานออกเสียงเป็นคองสั้นๆได้ใจความ ) * ครรลอง คือ แนวทางที่เป็นความจริงเป็นหลัก  มีรูปแบบของความจริงนั้น แต่มี หลายลักษณะ  เช่น รูปแบบชีวิต การเกิดแก่ เจ็บตาย ล้วนเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือ มีกรรม ย่อม มีผลแห่งกรรม  อยู่ที่บุคคลจะใช้รูปแบบใด รูปแบบ ดี หรือ เลว อยู่ที่การตัดสินใจของคน  ทุกสิ่งย่อมมีครรลองของตน มีเหตุย่อมมีผล


ส่วนจะมีอะไรบ้างในรายละเอียดยิบย่อย เอาไว้โพสต์หน้าจะใส่รายละเอียดทั้งหมด เพราะจากการที่ได้ติดตามและหาข้อมูลเรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนกันเยอะ บ้างพิมพ์ผิดบ้าง บ้างก็ตี ความหมายไปอีกแนวทางหนึ่งซึ่งไม่สอดคล้องกันนัก


มีผญ๋าว่าไว้
เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่คือแท้แต่หลัง ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ซ่วงกันบูชา ฝูงนาโค นาคเนาว์ในพื้น ชื่อว่าอุชุพะนาโค เนาว์ ในพื้นแผ่น สิบห้าสกุลบอกไว้บูชาให้ส่งสะการ จงทำให้ทุกบ้านบูชาท่านนาโค แล้วลงโมทนาดอม ชื่นชมกันเล่น กลางเว็นกลางคืนให้ระงมกันขับเสพ จึงสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น ทุกข์ทั้งหลาย หลีกเว้นหนีห่างบ่มีพาน ของสามานย์ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้ ไผผู้ทำตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆ ทุกสิ่งบ่ไฮ้ ทั้งข้าวหมู่ของ กรรมบ่ได้ถึกต้องลำบากในตัว โลดบ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้ มีแต่สุขีล้นครองคน สนุกยิ่ง อดในหลิงป่องนี้เด้อ                          เจ้าแก่ชรา(ที่มา:isangate.com)



เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐินซึ่งเริ่มตั้งแต่วัน แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำบุญทอดกฐินกัน ตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง สำหรับประชาชนที่อาศัย อยู่ตามริมฝั่งน้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี จะมีการจัดส่วงเฮือ (แข่งเรือ) เพื่อระลึกถึงอุสุพญานาค ดังคำกลอนข้างต้น
บางแห่งทำบุญดอกฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาวถวายพระเณร จะมีพลุตะไล จุดด้วย บางแห่งทำบุญโกนจุกลูกสาวซึ่งนิยมทำกันมากในสมัยก่อน






 ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก
งานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก


งานประเพณีไทย ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๐ -๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  


กรุงศรีอยุธยาดำรงความเป็นราชธานีนานถึง 417 ปี ได้สั่งสมวัฒนธรรมจนก่อเกิดเป็นเอกลัษณ์เฉพาะตัวสืบต่อกันมา จนกลายเป็นรากฐานของประเทศไทยและวิถีชีวิตของคนไทยในทุกวัน


จากความโดดเด่นของอารยธรรม ประเพณีและศิลปะวัฒนธรรม องค์การยูเนสโก จึงประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ตั้งแต่ปี๒๕๓๔ จนได้มีการเฉลิมฉลองโดยจัดงานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลกขึ้นภายในงานยังมีการจัดแสดงแสงสีเสียงแล้วยังมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกประดิษฐานให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะ บริเวณมณฑลพิธีหน้าวิหารพระมงคลบพิตร



จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงาน ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก และงานกาชาด ในวันที่ ๑๐ -๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ปีนี้เลื่อนจากเดือนธันวาคมของทุกปี เนื่องจากประสบอุทกภัยที่ผ่านมา


     นางสาวธนวัน กาสี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การจัดงานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก และงานกาชาด มีกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ การแสดงแสง เสียง ในชื่อชุด “ยอยศยิ่งฟ้า นานาชาติประกาศก้อง แผ่นดินทองศรีอยุธยา” โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บัตรเข้าชมราคา ๒๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท นอกจากนั้น ยังมี


  •      กิจกรรมการถ่ายภาพโบราณเป็นภาพหนังใหญ่ ซึ่งเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
  •      ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและการจัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนโบราณ
  •      สัมผัสบรรยากาศตลาดย้อนยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาและตลาดน้ำ พร้อมเลือกชิมอาหารคาว-หวานเลิศรสมากมาย
  •      การสาธิตศิลปหัตถกรรมไทย เช่น การสานปลาตะเพียน เป็นต้น
  •      การแสดงดนตรีไทยและดนตรีนานาชาติ
  •      กิจกรรมงานกาชาด การจำหน่ายของที่ระลึก และอื่นๆ อีกมากมาย 





วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำวันเกิด


ดอกไม้ประจำวันเกิด


          วันนี้เรามีดอกไม้ ประจำวันเกิดมาให้อ่านกันค่ะ … ใครเกิดวันไหน ตรงกับต้นไม้ หรือดอกไม้อะไรก็อย่าลืมไปหามาปลูกนะคะ 



        เกิดวันอาทิตย์ 

          ต้นไม้ประจำวันเกิด เป็นต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม 

          ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิด เป็นดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์

          คนเกิดวันนี้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือล้น เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย 



        เกิดวันจันทร์  
          ต้นไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี ยิ่งถ้าปลูกแล้วออกดอกหอม เธอจะยิ่งโชคดี 

          ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชนิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึงความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติก และช่างฝัน  


 

        เกิดวันอังคาร  
          ต้นไม้ที่แสนดีของเธอคือ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นยี่โถ ออกดอกสีชมพู ต้นเข็มออกดอกสีชมพู ถ้าต้นไม้ของเธอออกดอกมากๆ บอกได้ว่าเธอกำลังมีความสุข

          ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมายถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้  




        เกิดวันพุธ

          ต้นไม้ประจำตัวคนที่เกิดวันพุธนั้นพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่เป็นต้นไม้ใบเขียว โดยเฉพาะต้นกระดังงา ต้นสนฉัตร ดังนั้นเธอควรปลูกต้นไม้เยอะๆ ถึงจะโชคดี ต้นไม้เหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองเธอได้ คือ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบ เพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบเป็นนักการทูตและรักสันติภาพ

          ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ (เงิน) สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชนิดนี้ หมายถึงรักของเธอต้องมาพร้อมเงิน  




        เกิดวันพฤหัสบดี 

          ต้นไม้ประจำตัวคือ ต้นโสน ต้นราชพฤกษ์ และต้นบานบุรี หากมีต้นไม้เหล่านี้อยู่ในบ้านจะช่วยคุ้มครองดูแลเธอ 

          ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็กๆ ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งคือดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึงรักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวาน เธอที่เกิดวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารักเหมือนดอกไม้ของเธอนั่นแหละ 




        เกิดวันศุกร์  
          ต้นไม้ที่แสนดีของคนที่วันศุกร์คือ ต้นพยับหมอก ต้นแส ต้นอัญชัน

          ส่วนดอกไม้ของเธอคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิดวันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่มีเสน่ห์ล้นเหลือ หรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบดอกไวโอเลตว่า "ฉันรักเธอแล้ว หากรักฉันก็บอกกันบ้างนะ" คนเกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอน ไปครองอีกดอกหนึ่ง 




        เกิดวันเสาร์  
          จะมีต้นไม้พวกต้นกัลปังหา ต้นพวงคราม ต้นอินทนิล เป็นต้นไม้ประจำวันเกิด 

          ดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึงรักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว


วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กินผลไม้พื้นบ้านต้านโรค

กินผลไม้พื้นบ้านต้านโรค




ผลไม้ ผลไม้ไทย

ผลไม้ ผลไม้ไทย



กินผลไม้พื้นบ้านต้านโรค (Wellbeing & Health Modernmom)

 
         เมืองไทยมีผลไม้พื้นบ้านราคาย่อมเยาอยู่มากมายที่ให้ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายในปริมาณสูง อีกทั้ง ยังได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ว่าสารเคมีที่อยู่ในผลไม้นั้นมีสรรพคุณเป็นยากระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ รวมถึงเสริมสร้างภูมิต้านทานได้อีกด้วย
ฝรั่ง


      ฝรั่ง ผลไม้พื้นบ้านราคาถูก และออกผลตลอดปี ทุกสายพันธุ์ล้วนเป็นสุดยอดผลไม้ที่มีวิตามินซี ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงมาก ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น จึงสามารถป้องกันการเป็นไข้หวัดได้ หรือช่วยสร้างรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันที่เราเคยท่องจำกันในสมัยเด็ก ๆ ได้อีกด้วย

มะเฟือง


      มะเฟือง นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้วยังให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างเต็มเปี่ยม มะเฟืองอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัสและแคลเซียม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูกช่วยขับเสมหะได้

ทับทิม


      ทับทิม ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยว ออกฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง แก้เจ็บคอ แก้โลหิตจาง ห้ามเลือด รักษาแผล แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องร่วง นอกจากนี้ หากดื่มน้ำทับทิมตอนเช้าวันละ 1 แก้วจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ ในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้

มะละกอ


      มะละกอแขกดำ ผลไม้สุดร่อยที่มีประโยชน์ใช้สอยอีกมากมาย เนื้อมะละกออุดมไปด้วยวิตามินซี มีเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน รวมถึงมีแมกนีเซียม ทองแดง โพแทสเซียมและใยอาหาร เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงให้ผิวพรรณชุ่มชื้น มีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ขจัดไขมันในผนังลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สะอาดดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น

ส้มโอ

      ส้มโอ ในส้มโอมีสารเพคติน (Pectin) สูง มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและมีสารโมโนเทอร์ปืน ที่ช่วยในการจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้นหากรับประทานส้มโอหลังมื้ออาหารจะช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มะขาม

      มะขาม เนื้อมะขามมีสารแอนทราควินิน (Antraquinone) ซึ่งช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ อีกทั้งยังมีกรดอินทรีย์ (Organic Acid) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาร์ริก (Tartaric Acid) และกรดซิตริค (Citric Acid) มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เพิ่มกากใยอาหาร และช่วยให้ขับถ่ายสะดวก

มะยม

      มะยม เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง มีฤทธิ์ช่วยสมานแผลและใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ


      การเลือกกินผลไม้ทุกชนิด นอกจากต้องกินผลไม้ที่สดสะอาดเพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าสูงสุดแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอเพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกลัวโรคภัยใด ๆ มากล้ำกรายแล้ว

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลแนะนำจังหวัดขอนแก่น
 
จังหวัดขอนแก่น
               จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นอีกจังหวัดหนึ่งของภูมิภาค นอกจากจะมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในบริเวณศูนย์กลางของภาคอีสานแล้ว ยังเป็นจังหวัดศูนย์กลางทางการศึกษาและเทคโนโลยีของภูมิภาค เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในอำเภอเมืองครบครัน ทั้งที่พักหลายระดับและบริการต่างๆ จำนวนมาก มีทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และด้านอื่นๆ หลากหลายรูปแบบ และที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของสนามบิน
จังหวัดขอนแก่นมีเนื้อที่ประมาณ 10,885 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,803,125 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 15 ของประเทศ มีพื้นที่อยู่ในเขตของลุ่มน้ำหลัก 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงทางทิศตะวันตก ในเขตของเขาภูกระดึงและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะสูงต่ำสลับกันเป็นลูกคลื่นลาดเทไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของจังหวัด พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-200 เมตร มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำชีและแม่น้ำพอง
               จังหวัดขอนแก่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอบ้านฝาง อำเภอพระยืน อำเภอหนองเรือ อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอกระนวน อำเภอบ้านไผ่ อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอแวงใหญ่ อำเภอแวงน้อย อำเภอหนองสองห้อง อำเภอภูเวียง อำเภอมัญจาคีรี อำเภอชนบท อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอภูผาม่าน อำเภอซำสูง อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอหนองนาคำ อำเภอบ้านแฮด และอำเภอโนนศิลา
อาณาเขต
               » ทิศเหนือ : ติดต่อกับ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุดรธานี
               » ทิศใต้ : ติดต่อกับ จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคาม
               » ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมาและ
               » ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์


ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดขอนแก่นไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดมหาสารคาม87 กม.จังหวัดนครราชสีมา199 กม.
จังหวัดกาฬสินธุ์97 กม.จังหวัดเลย217 กม.
จังหวัดอุดรธานี121 กม.จังหวัดบุรีรัมย์223 กม.
จังหวัดหนองบัวลำภู142 กม.จังหวัดเพชรบูรณ์235 กม.
จังหวัดชัยภูมิ142 กม.


ระยะทางจากอำเภอเมืองขอนแก่นไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอบ้านแฮด18 กม.อำเภอภูเวียง68 กม.
อำเภอบ้านฝาง22 กม.อำเภอแวงใหญ่72 กม.
อำเภอพระยืน30 กม.อำเภอพล74 กม.
อำเภอซำสูง39 กม.อำเภอโคกโพธิ์ไชย75 กม.
อำเภอน้ำพอง43 กม.อำเภอเวียงเก่า78 กม.
อำเภอบ้านไผ่44 กม.อำเภอเปือยน้อย80 กม.
อำเภอหนองเรือ45 กม.อำเภอหนองนาคำ80 กม.
อำเภออุบลรัตน์50 กม.อำเภอชุมแพ82 กม.
อำเภอชนบท55 กม.อำเภอหนองสองห้อง96 กม.
อำเภอโนนศิลา58 กม.อำเภอแวงน้อย96 กม.
อำเภอมัญจาคีรี58 กม.อำเภอภูผาม่าน109 กม.
อำเภอเขาสวนกวาง59 กม.อำเภอสีชมพู114 กม.
อำเภอกระนวน66 กม.
 
 
     โดยรถยนต์
          จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 ให้แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมามุ่งหน้าไปจังหวัดขอนแก่น
    
     โดยรถประจำทาง
           มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูทดอทคอม www.thairoute.com

     โดยรถไฟ
          การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดขอนแก่นทุกวัน ทั้งรถเร็วและรถด่วน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th
  
     โดยเครื่องบิน
            บมจ. การบินไทย เปิดบริการเที่ยวบินถึง ขอนแก่นทุกวัน กรุงเทพฯ ติดต่อ 0 2535 2081-2 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 2280 0080 ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ  ล่วงหน้า

     
 
ขอนแก่น
     เทศกาลดอกคูณเสียงแคน
          จัดขึ้นช่วง : เดือนเมษายน
               เทศกาลดอกคูณเสียงแคน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 -15 เมษายน ของทุกปี บริเวณบึงแก่นนคร ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น ความสำคัญ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น ในงานนี้จะตกแต่งด้วยดอกไม้หลากสี เพื่อประกวดความสวยงามและแนวคิดสร้างสรรค์ จุดเด่นของงานจะเป็นความงามของขบวนรถบุปผาชาติเสียงเพลงและสาวงาม
    
      งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยว
           จัดขึ้นช่วง : เดือนธันวาคม
               จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัด ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คำว่า "เสี่ยว" หมายถึงเพื่อนรัก เพื่อนสนิท ที่เกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันเหมือนญาติสนิท บางทีเรียกว่า "เพื่อนตาย" ก็มีจังหวัดขอนแก่น จึงขอเชิญชวนชาวอีสานทุกคนได้ร่วมใจผูกเสี่ยว เพื่อสร้างสัมพันธภาพแห่งความรัก ความผูกพันสืบทอดมรดกวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอีสาน
   
      เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น
            จัดขึ้นช่วง : เดือนมิถุนายน
               เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่นจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันเพ็ญเดือนหก (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน6) ณ วัดเจติยภูมิ เป็นงานเฉลิมฉลองพระธาตุ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง


วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555