วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

มาทำความรู้จัก ASEAN กันเถอะค่ะ

ASEAN
 
800px-flag_of_asean_svg







asean_2510

กำเนิดอาเซียน

          อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

           ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

           วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

 สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

          รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

          สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์

          สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

        (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน         (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก         (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก         (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง         (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ         (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม         (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที         (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ         (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

        กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)


ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน



(ASEAN Political and Security Community – APSC)



            มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ

            1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

           2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

         3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community-AEC)

          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ

          1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

        3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริม   สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

        4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)



           อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

            1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

            2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

            3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

            4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

            5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

            6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา



            ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

           ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้

1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง

           สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)

2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

          พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน

3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

           พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัลโรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา

          รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

            จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้

     นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558      นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน      นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน      นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
     นโยบายที่ 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)


flag-brunei-darussalam

เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam

การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ

หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn


flag-cambodia

ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia

การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย

ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ

ภาษาราชการ : ภาษาเขมร

หน่วยเงินตรา : เรียล

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh


flag-indonesia

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia

การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย

ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา

ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย

หน่วยเงินตรา : รูเปียห์

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id


flag-lao_pdr

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic

การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม

ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์

ภาษาราชการ : ภาษาลาว

หน่วยเงินตรา : กีบ

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la



flag-malaysia

มาเลเซีย : Malaysia

การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์

หน่วยเงินตรา : ริงกิต

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my



flag-myanmar

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar

การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี

ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง

เมืองหลวง : นครเนปิดอร์

ภาษาราชการ : ภาษาพม่า

หน่วยเงินตรา : จั๊ต

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm


flag-philippines

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี

ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3

เมืองหลวง : กรุงมะลิลา

ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ

หน่วยเงินตรา : เปโซ

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph


flag_singapore

สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore

การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม

เมืองหลวง : สิงคโปร์

ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ

หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg


flag-thailand

ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand

การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร

ภาษาราชการ : ภาษาไทย

หน่วยเงินตรา : บาท

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th


flag-vietnam

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam

การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม

ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง

เมืองหลวง : กรุงฮานอย

ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม

หน่วยเงินตรา : ด่อง

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

โยคะลดหน้าท้อง

ลดหน้าท้อง ด้วยท่าโยคะง่ายๆ ภายใน 10 นาที


ลดหน้าท้อง
 
           สาวๆ women mthai ที่มีปัญหาเริ่มมีหน้าท้องน้อยๆ หรือ กินมากจนพุงป่อง เรามีท่าโยคะง่ายๆมาฝากกัน เป็นท่าโยคะ ที่สามารถลดไขมันบริเวณหน้าท้อง และ ลดไขมันที่ต้นขาได้อีกด้วย ท่าเดียวทั้ง ลดหน้าท้อง และ ลดต้นขา ได้ถึง 2 ประโยชน์แบบนี้
      
         วิธีปฏิบัติมาเริ่มกันเลย…

นอนหงาย มือประสานกันใต้ศีรษะ เท้าชิดกัน

ครั้งแรก หายใจเข้า แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออก ยกลำตัว และ ยกขาซ้ายขึ้น 45 องศา พยายามเหยียดให้ขาตรงเอาไว้ ไม่งอขา แล้วค่อยๆเกร็งหน้าท้องเล็กน้อย ไม่กลั้นหายใจ ค้างไว้ หายใจเข้า-ออก 5-10 วินาที ลดลง

ครั้งที่สอง หายใจเข้ายาวๆ แล้วค่อยๆ หายใจออกช้าๆ ยกขาขวา พร้อมกับยกลำตัวขึ้น หายใจ       เข้า-ออก 5-10 วินาที แล้วลดลง ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง

ครั้งสุดท้าย หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกให้ยาวๆ แล้วยกทั้งขาทั้งสองข้าง ค่อยๆ ยกลำตัวขึ้น ค้างไว้หายใจเข้าออก 10 วินาที แล้วลดลง

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ป่าไม้ในประเทศไทย

        ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ก. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ข. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท นี้ ได้แก่
 
1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้

    1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
         เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย
    1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
         เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูง
จากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ
    1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก 
  Gymonosperm ได้แก่ พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา 
ได้แก่  เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น

   2. ป่าสนเขา (Pine Forest)
     ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น

            3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest)

                 บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็มหรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้
            ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่ง
            ทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอลุง 
            จังหวัดจันทบุรี  พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและ
            ทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้
            พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น

            4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
                 ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมี
            ต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมี
            ขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซาก
            พืชผุสลายทับถมกัน เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้น
            เสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด" อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้
            ต่าง มากชนิดขึ้นปะปนกันชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา 
            โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
5. ป่าชายหาด (Beach Forest)
     เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น
ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)

ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น
ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)
ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น

2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)

หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ
3. ป่าหญ้า (Savannas Forest)
ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือ ติ้วและแต้ว

ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.

ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
     1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
     2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
     3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
     4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
     5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย

   1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น

2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
              3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
              4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
              5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
              6. ไฟไหม้ป่ามักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
              7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง ถนน หนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า
การอนุรักษ์ป่าไม้
      ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ ประชาชน ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้
1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

การจัดการป่าเศรษฐกิจ
มีกิจกรรมหลายอย่างที่จะดำเนินการในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่
1. การพัฒนาป่าธรรมชาติในพื้นที่ ๆ ยังมีป่าธรรมชาติปกคลุมสามารถวางโครงการทำป่าไม้ต่าง ๆ และป่าไม้ชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการใช้สอยในครัวเรือนของราษฎรได้
2. การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ๆ ว่างเปล่าสามารถพัฒนาโดยให้รัฐและเอกชนทำการปลูกป่าในพื้นที่ ๆ ว่างเปล่า เพื่อผลิตไม้ในภาคอุตสาหกรรมและใช้สอยในครัวเรือน
3. การพัฒนาตามหลักศาสตร์ชุมชนใช้พื้นที่ป่าเศรษฐกิจในโครงการพระราชดำริโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงโครงการหมู่บ้านป่าไม้และโครงการ สกท.
4. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ใช้พื้นที่เขตป่าเศรษฐกิจดำเนินงานในกิจกรรมเหมืองแร่ระเบิดหินย่อย และขอใช้ประโยชน์อื่น ๆ

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ผลไม้ทายนิสัย

ผลไม้ อาหารของทุกเพศทุกวัย ใครๆ ก็ชื่นชอบ เชื่อว่าแต่ละคนต้องมีผลไม้สุดโปรดเป็นของตัวเองแน่ๆ มาดูกันดีกว่าว่าผลไม้จะทายนิสัยของคุณได้แม่นแค่ไหน อย่างไร
         > กระท้อน คนชอบกินกระท้อน จะมีลักษณะแข็งนอกอ่อนใน ดูภายนอกเหมือนคนก้าวร้าวแต่จริง ๆ จิตใจดี อ่อนไหวง่าย ไม่ชอบความรุนแรง รักสงบ

         > กล้วย สำหรับคนที่ชอบทานกล้วย ภายนอกดูจะเป็นคนเงียบขรึม แต่นิสัยจริง ๆ คืออ่อนไหวง่าย ถ้าถูกใครพูดกระทบกระแทกหน่อยก็จะเก็บเอาไปคิดเสียใจ เป็นคนโอบอ้อมอารีย์ มีเหตุผล รอบคอบ มองการณ์ไกล ชอบวางแผน อนาคตให้ตัวเองและคนที่อยู่รอบข้างเสมอ เป็นคนนิสัยรักสันโดษ เป็นคนที่มีจิตเป็นกุศล ชอบทำบุญแก่คนทุกข์ยาก

         > เงาะ สำหรับสาว ๆ ที่ชอบกินเงาะจะเป็นคนค่อนข้างขี้เล่น สามารถทำให้คนรอบข้างมีความสุขได้ ถึงคุณจะขี้โม้ไปบ้างแต่เพื่อน ๆ ก็ชอบในความร่าเริงสนุกสนานของคุณ

         > ชมพู่ สำหรับคนขี้เกรงใจ จะชอบกินชมพู่มากเป็นพิเศษ มีความอดทนสูง ยิ้มได้ในทุกสถานการณ์ แต่เป็นคนมองโลกในแง่ร้ายและคิดมาก แต่ไม่ชอบที่จะทำร้ายจิตใจใครจริง ๆ ดังนั้นถ้าหนุ่มคนไหน ชอบกินชมพู่เป็นพิเศษหล่ะ ก็ควรจะเอาใจเค้าให้มาก เพราะเค้าจะคิดอะไร ๆ ไปในทางลบเสมอ

         > แตงโม เป็นของว่างจานโปรดสำหรับสาวใจกว้าง อ่อนโยน มีน้ำใจกับมิตรสหาย ซื่อสัตย์ไม่คิดคดทรยศเป็นคนง่าย ๆ มองโลกในแง่ดี จะไม่ค่อยโวยวายหรือคิดมาก ตั้งอกตั้งใจทำงานดี แต่มักแพ้ภัยแก่เพศตรงข้าม และคนที่ชอบกินแตงโมจะเป็นคนที่รักใคร่เอ็นดูของเพื่อนฝูงอีกด้วย

         > ฝรั่ง สาว ๆ ที่ชอบฝรั่งมักเป็นคนรักอิสระ ชอบที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ชอบทำอะไรซ้ำซากจำเจ

         > มะพร้าว เพื่อน ๆ ที่ชอบมะพร้าวมักเป็นคนใจบุญ มีจิตเป็นกุศล มองโลกในแง่ดี วาจาคมคาย พูดจาเหน็บคนให้เจ็บด้วยใบหน้าที่ใสซื่อเก่งนักแหละ

         > มะละกอ ผลไม้โปรดของคนที่มีน้ำอดน้ำทนสูง มีความคิดลุ่มลึก คิดเป็นเหตุเป็นผล วางแผนแยบยล โอบอ้อมอารีย์

         > มังคุด เหมาะสำหรับคนที่เก็บเนื้อเก็บตัว ช่างฝันและมีอารมณ์โรแมนติก อ่อนไหวง่าย รักใครได้ง่าย ๆ และเก็บเอาไปนึกคิดคนเดียว แต่ไม่นานก็ลืมเอาดื้อ ๆ แล้วก็ไปหลงคนอื่นต่อไปเรื่อยเปื่อย พูดง่าย ๆ คือเป็นผลไม้สำหรับคนเจ้าชู้ไงจ๊ะ

         > ลองกอง พวกที่ยึดเอาลองกองเป็นอาหารหลัก เป็นคนรักสันโดษ ชอบเดินทาง ชอบการผจญภัยในที่ที่ตนเองไม่เคยไป อนุรักษ์นิยม

         > ลางสาด สำหรับเพื่อน ๆ ที่เลือกลางสาดเป็นผลไม้หลัก จะเป็นคนอนุรักษ์นิยม ยึดมั่นในแนวความคิดเก่า ๆ ชอบวิถีทางที่เคยทำมาแต่ก่อน แต่เป็นคนมีเหตุผล

         > ลิ้นจี่ ผลไม้สำหรับคนชอบทำงานเบา ๆ ไม่ต้องใช้กำลังแรงงานมาก ๆ คนชอบทานลิ้นจี่กลัวเพื่อน ๆ จะลำบากน้อยกว่า เลยให้เพื่อน ๆ เอางานไปช่วยทำซะหมด ตัวเองคอยชักใยอยู่เบื้องหลังสบาย ๆ นี่เอง

         > ลำไย คนชอบทานผลไม้เม็ดเล็กชนิดนี้มักเป็นคนปากหวาน ชอบประจบประแจง ใช้คำพูดยกยอคนให้หลงปลื้ม แต่มักเป็นคนชอบนินทาว่าร้ายคนอื่นลับหลัง

         > สตรอเบอร์รี่ ถ้าชอบทานสตรอเบอร์รี่ บอกได้เลยว่าคุณเป็นสาวคุยสนุก มีอารมณ์ขัน ทำให้คนอื่นหัวเราะได้ตลอดเวลา เป็นที่ต้องการของเพื่อนๆ ในกลุ่ม และเมื่อจะพูดคุยหรือทำอะไรก็ต้องมีคนดู คนฟัง และค่อนข้างมีรสนิยมทีเดียว

         > สาลี่ ผลไม้คุณหนู ผู้ที่ชอบทานมักจะมีนิสัยอ่อนหวาน สุภาพ อ่อนโยน ไม่ชอบขัดใจใคร มองโลกในแง่ดี ไม่นินทาว่าร้ายใคร นอกจากนี้ยังเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี

         > ส้มเขียวหวาน เห็นชอบส้มอย่างนี้เป็นคนทันสมัย หัวก้าวหน้า แต่มักมีนิสัยหึงหวงเพศตรงข้ามอยู่เนืองๆ มัธยัสถ์ รู้จักใช้จ่าย

         > ส้มโอ คนที่ชอบส้มโอจะเป็นคนที่รักความสบาย ความหรูหรา โอ่อ่า ใจอ่อนง่าย ถ้ามีใครๆ มาตื๊อก็คงยอมให้กันทุกอย่างแบบเทกระเป๋าไปเลย

         > สัปปะรด ผู้ที่ชอบกินเป็นคนที่แคร์คนอื่นมากเกินไป มัวแต่ไปเอาใจคนอื่นเกินไป ทำให้เพื่อนๆ มักจะรำคาญและเบื่อหน่ายอยู่เสมอ

         > องุ่น ผลไม้ยอดฮิตของคนสวยมีเสน่ห์ เพื่อนๆ ที่ชอบทาน มักเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนง่าย นิสัยร่าเริง มีความคิดความอ่านสุขุมรอบคอบ ปากกับใจไม่ค่อยตรงกันนัก ไม่ค่อยชอบบอกเรื่องส่วนตัวให้ใครรู้ง่าย ๆ

         > แอ๊ปเปิ้ล ผลไม้ของคนขี้เหงา ขาดเพื่อนไม่ได้ เป็นคนไม่ค่อยแคร์เรื่องความรัก คือนึกจะรักใครก็รัก นึกจะเลิกก็เลิกขึ้นมาง่ายๆ แต่จะเป็นคนที่มีความอดทนในเรื่องของการทำงาน